การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในเพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
การตรวจสอบระบบไฟฟ้านั้นช่วยให้เราปลอดภัยจากจากการเกิดไฟไหม้ลักษณะการเกิดไฟฟ้าลัดวงจรอันเนื่องมากจากระบบไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐานเช่นมีการติดตั้งสายไฟที่เล็กเกินไปหรือสายไฟติดตั้งไม่ถูกต้องตามลักมาตรฐานนั้นเอง เราควรทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้าอย่างเป็นประจำในทุกๆปีตามที่กฎหมายกำหนดของประกาศกรมสวัสดิการ และ ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ข้อแนะนำในการตรวจระบบไฟฟ้าในคลังสินค้าที่ดีควรเป็นอย่างไร
- ตรวจสอบดูว่าคลังสินค้าของเรานั้นมีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีโดยวิศวกรไฟฟ้าพร้อมใบรับรองอย่างเป็นประจำ
- ดูรายงานข้อเสนอแนะเสมอเมื่อมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญว่าระบบไฟฟ้าในคลังสินค้าของเรานั้นควรมีการแก้ไขอะไรบ้าง
- รีบทำการแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆอย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันความเสียหายและอุบัติเหตุจากไฟฟ้าหรือไฟรั่ว
- ควรมีการทำ PM ระบบไฟฟ้าของคลังสินค้าในทุกๆปี การทำ PM บำรุงรักษาระบบไฟฟ้าจะช่วยให้อุปกรณ์ไฟฟ้าของเรานั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและสามารถใช้งานระบบไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดเสมอ
- กรณีมีการซ่อมแซมระบบไฟฟ้าโดยช่างควรมีการตัดแยกระบบไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัย โดยการทำ Lock out – Tag out
- พนักงานที่ทำงานกับระบบไฟฟ้าเช่น ช่างประจำคลังสินค้าจะต้องได้รับการผ่านอบรมหลักสูตรการทำงานกับไฟฟ้าตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อความปลอดภัย
- ควรมีการติดป้ายเตือนให้พนักงานในคลังสินค้าเห็นและระมัดระวังเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า หรือ อันตรายจากระบบไฟฟ้า
กฎหมายที่ต้องทำการตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
- กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. 2550 (กรมอุตสาหกรรม) ข้อ 5 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรอง ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจําทุกปีโดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกําหนด โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ของสถานประกอบกิจการเพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และจัดทําบันทึกผลการตรวจสอบ และรับรองระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า
การทำ Thermo Scan อุปกรณ์และระบบไฟฟ้าจะช่วยให้เราได้รู้ก่อนที่ระบบไฟฟ้าจะขัดข้อง
ปัจจัยที่รบกวนการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน ปัจจัยที่อาจจะทำให้การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อนเกิดการผิดพลาดนั้นนอกเหนือจากความเชี่ยวชาญของผู้ตรวจสอบและการปรับตั้งพารามิเตอร์ต่างๆภายในตัวกล้องหรือโปรแกรมสำหรับการวิเคราะห์แล้วยังมีปัจจัยจากภายนอกอื่นๆอีก เช่น ความชื้นในอากาศสูงเกินไปหรือการตรวจสอบระบบไฟฟ้าขณะฝนหยุดตกไม่นาน, ความเร็วของลมบริเวณตรวจสอบ, ระยะห่างระหว่างวัตถุที่ตรวจสอบกับตำแหน่งกล้องถ่ายภาพความร้อนที่ทำการตรวจสอบ และการตรวจสอบระบบไฟฟ้าบริเวณที่มีความเข็มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูง ดังนั้นการปรับตั้งพารามิเตอร์และการตรวจสอบในเวลาที่เหมาะสม, บริเวณและตำแหน่งที่เหมาะสมจึงมีผลอย่างยิ่งต่อความถูกต้องสำหรับการตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยกล้องถ่ายภาพความร้อน